ประวัติวัด


ประวัติวัดโปรดเกศเชษฐาราม
                    วัดโปรดเกศเชษฐาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สามัญ ตั้งอยู่ตำบลทรงคนอง (เดิมตำบลเชียงใหม่) อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
                   ประวัติการสร้างวัดโปรดเกศเชษฐาราม เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชการที่ ๒ กรุงรัตนโกสินทร์ ขึ้นเสวยราช (..๒๓๕๗) มีพระราชดำริว่า เมืองป้อมปราการบริเวณคลองลัด (โพ ) ที่สร้างค้างมาแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมควรที่จะสร้างให้เสร็จสมบูรณ์ จึงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ (วังหน้าในรัชกาลที่ ๒) เป็นแม่กองลงมาสร้างเมืองและป้อมที่สร้างค้างไว้ สร้างเสร็จและตั้งพิธีฝังอาถรรพ์หลักเมือง เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ..๒๓๕๘ พระราชทานนามเมืองว่า นครเขื่อนขันธ์ โปรดเกล้าฯให้สมิงทอมา เชื้อสายรามัญ บุตรเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง ต้นตระกูลคชเสนี) เป็นพระยานครเขื่อนขันธ์ ให้ย้ายครัวมอญจากสามโคก ปทุมธานีมาอยู่เมืองนครเขื่อนขันธ์จำนวนหนึ่ง พ..๒๓๖๓ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเห็นว่า เมืองนครเขื่อนขันธ์นั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์ทั้งหมด จึงโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นศักดิ์พลเสพย์ เป็นแม่กองมาสร้างเมืองปละป้อมปราการให้เสร็จสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อจะได้ใช้เป็นเมืองหน้าด่านป้องกันข้าศึกที่จะยกมาทางทะเล กรมหมื่นศักดิ์พลเสพย์ ตั้งให้พระยาเพชรพิไชย (เกศ ต้นตระกูลเกตุทัต) พระพี่เลี้ยงเป็นแม่กองและนายงานสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์และป้อมเพชรหึงต่อจากที่สร้างค้างไว้ ในการนี้ได้ขุดคลองลัดหลังเมืองนครเขื่อนขันธ์ไปทะลุออกคลองตาลาว  เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง ๒ ด้าน ปากคลองขุดอยู่ทางทิศใต้และทิศเหนือของเมือง เมืองนครเขื่อนขันธ์จึงมีลักษณะเป็นน้ำล้อมรอบ ชาวบ้านเรียก คลองลัดหลวง  เมื่อสร้างเมืองเสร็จสมบูรณ์แล้วเมื่อปี พ..๒๓๖๒ กรมหมื่นศักดิ์พลเสพย์ได้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่ง อยู่ฟากคลองตะวันตก พระราชทานนามว่า วัดไพชยนต์พลเสพย์ พระยาเพชรพิไชย (เกศ) นายงานสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์และนายงานสร้างวัดไพชยนต์ฯด้วย เมื่อสร้างวัดนั้นเสร็จแล้ว ได้ขออนุญาตสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งตั้งอยู่คนละฝั่งคลอง แล้วเสร็จเมื่อปี พ..๒๓๖๕ ได้รับพระราชทานนามภายหลังว่า  วัดโปรดเกศเชษฐาราม แต่เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า วัดปากคลอง เนื่องจากทางทิศเหนือของวัด มีคลองเล็ก ๆ คลองหนึ่งชื่อ คลองทองเมือง ปากคลองอยู่ทางคลองลัดหลวง บริเวณนี้มีศาลาประดิษฐานพระพุทธรูป ๑ หลัง แต่ไม่มีพระภิกษุจำพรรษา วัดร้างนี้อาจจะชื่อวัดปากคลอง เมื่อสร้างวัดโปรดเกศฯขึ้นแต่ยังไม่มีชื่อ ชาวบ้านจึงเรียก วัดปากคลอง ต่อมาหลายสิบปี
  สิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นในชั้นเดิม คือ พระอุโบสถ  พระวิหาร ศาลาการเปรียญ (ศาลาการเปรียญหลังเดิมเป็นศาลาไม้ไต้ถุนสูง ตั้งอยู่ตรงที่สร้างศาลาการเปรียญหลังปัจจุบัน) พระเจดีย์ทรงลังกา ๒ องค์ พร้อมกับหอระฆัง ส่วนพระมณฑปนั้นยังสร้างไม่เสร็จ สร้างเสนาสนะที่อยู่อาศัยของสงฆ์ ๒ คณะ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ขี้นเสวยราช ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ให้พระยาเพชรพิไชย (เกศ) มาบูรณะและต่อเติมวัดได้สมบูรณ์มากขึ้น  ต่อมาพระยาเพชรพิไชย (หนู) บุตรพระยาเพชรพิไชย (เกศ) ได้มาบูรณะใหญ่ เช่น เขียนลายบนเพดานพระวิหารและพระอุโบสถ ย้ายประตูพระวิหาร สร้างเขื่อนรอบสระ และอาจจะบูรณะภายในพระอุโบสถ คืออุดช่องที่มีรูปเขียนพระสาวกอยู่ในซุ้มฝาผนังพระอุโบสถทั้งหมด ฝาผนังคงจะร้าว เพราะซุ้มที่เจาะเขียนภาพสีนั้น เจาะลึกเข้าไปในผนังมาก วัดโปรดเกศเชษฐารามได้รับพระราชทานเป็นพระอารามหลวงเมื่อไร ไม่มีหลักฐาน   แต่ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.. ๒๓๖๘

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น